อาหารสัตว์เลี้ยง …เค็มเกินไป ?
ความเค็มในอาหาร สำหรับมนุษย์หรือเจ้าของสัตว์เลี้ยง เข้าใจเรื่องความเค็มว่า มาจากเกลือ โดยเกลือที่เข้าใจกันส่วนใหญ่คือ โซเดียมคลอไรด์ หรือ เกลือแกง นั่นเอง แต่ทั้งนี้ ความเค็ม นั้นยังสามารถมาจาก เกลือ ในรูปแบบอื่นๆอีก เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์ ที่ในปัจจุบันมีการใช้เป็นสารให้ความเค็ม แต่ไม่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในอาหารสำหรับคนที่ต้องการจำกัดปริมาณโซเดียม
ความสำคัญของเกลือในอาหารของสัตว์เลี้ยง
เกลือ ในที่นี้ ขอกล่าวในรูปแบบของ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ซึ่ง โซเดียมคลอไรด์บริสุทธิ์ประกอบด้วยคลอไรด์ 60.67% และโซเดียม 39.33% ทั้งโซเดียมและคลอไรด์เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในอาหารของสุนัขและแมว
Cr. https://www.honestdocs.co/eat-more-salt-dangerous-than-you-think
บทบาทหน้าที่ของ โซเดียม (Na)
การได้รับโซเดียมไม่เพียงพอ พบได้น้อยมาก ทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งเมื่อขาด สัตว์จะเกิดอาการกระวนกระวาย มีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงขึ้น ดื่มน้ำน้อยลง ในขณะเดียวกันก็ถ่ายปัสสาวะในปริมาณมากขึ้น เนื่องจากลดการดูดกลับน้ำที่หน่วยไต ดังนั้น ค่าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะจะต่ำลง และเยื่อเมือกมีลักษณะแห้ง ในทางกลับกัน หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้อาเจียนและทำให้เยื่อเมือกบุผิวแห้งได้เช่นกัน หากสัตว์เลี้ยงในขณะนั้นได้รับน้ำในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
บทบาทหน้าที่ของ คลอไรด์ (Cl)
ผลของการขาดคลอไรด์ จะเกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่เจริญเติบโต ทั้งนี้อาการเหมือนกับการขาดธาตุโพแทสเซียม ส่วนในกรณีที่ได้รับมากเกินไป จะทำให้ระดับแคลเซียมและโพแทสเซียมในเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (metabolic acidosis)
ปริมาณความต้องการในระดับต่ำสุดของสัตว์เลี้ยง (Minimum requirement)
0.06-0.30% และสำหรับคลอไรด์ ที่ระดับ 0.09-0.45% ตามลำดับ โดยเป็นการคำนวนต่อน้ำหนักของอาหารแห้ง ซึ่งรายละเอียดความต้องการแยกตามชนิดและอายุของสัตว์ ตามรายละเอียดในตาราง
แหล่งวัตถุดิบที่ให้ธาตุโซเดียม ก็คือ เกลือ ซึ่งที่ใช้กันบ่อยๆ คือ เกลือแกง หรือ โซเดียมคลอไรด์ นอกจากนั้น มีเกลืออีกหลายรูปแบบ เช่น โซเดียมฟอสเฟต โซเดียมคาร์บอเนต โซเดียมไบคาร์บอเนต และโซเดียมไตรโพลีฟอสเฟต ทั้งนี้ อาหารจำพวกพืชผักจะมีโซเดียมประกอบอยู่ในปริมาณต่ำ ในขณะที่เนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปจะมีโซเดียมสูงกว่าพืชผักประมาณสามเท่า
แหล่งวัตถุดิบที่ให้ธาตุ คลอไรด์ นั้น โดยปกติแล้วเป็นเกลือโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) ที่มักใช้เสริมในอาหาร
การเติมเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ปริมาณ 0.25-0.5% จะทำให้ได้โซเดียม 0.09-0.15% และคลอไรด์ 0.2-0.3% ในสูตรอาหาร ซึ่งโซเดียมและคลอไรด์ในเกลือแกงนั้น มีความสามารถในการถูกย่อยและดูดซึมได้เกือบ 100% (ต่างจากเกลือในรูปแบบอื่นๆ)
วัตถุประสงค์อื่นๆในการเติมเกลือในอาหารสัตว์เลี้ยง
นอกจากมีการใช้เกลือเพื่อเป็นแหล่งของโซเดียม และ คลอไรด์ ที่เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อสัตว์เลี้ยงแล้ว ยังพบว่า มีการใช้เกลือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆเช่น
สุนัขและแมวรู้รสเค็มหรือไม่
สุนัขและแมวสามารถรับรู้รสชาติความเค็มได้ สำหรับแมว ยัง ไม่มีข้อมูลยืนยันว่าเกลือมีผลต่อความชอบของแมว แต่พบว่าแมวชอบกรดอะมิโนและสารกระตุ้นที่มีรสเปรี้ยวในระดับความเข้มข้นที่มนุษย์ไม่สามารถรับรู้หรือระดับที่ไม่พอใจ แต่เกลือสามารถเพิ่มความน่ากินของอาหารสุนัขได้ โดยพบว่าสุนัขจะชอบอาหารเปียกมากขึ้นเมื่อปริมาณเกลือในอาหารเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามปริมาณของเกลือไม่มีผลต่อความน่ากินของอาหารแห้ง (Roudebush et al., 2000)
Cr. https://www.dogilike.com/content/caring/3347/
ปัญหาและข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับเกลือ
กลไกของควบคุมปริมาณโซเดียมในร่างกายสัตว์ ถูกคุมด้วยระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน-แอลโดสเตอโรน (Renin-angiotensin-aldosterone) หรือ RAA : ในสุนัขและแมวที่มีสุขภาพแข็งแรงจะสามารถปรับตัวต่อปริมาณโซเดียมในอาหารที่แตกต่างกันได้ด้วยกลไกของระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน-แอลโดสเตอโรน โดยที่หากได้รับโซเดียม( Na) ในปริมาณสูง Renin จะถูกสร้างและหลั่งออกมาจากเซลล์ Juxtaglomerular ที่เยื่อบุผนังเส้นเลือด Afferent arterioles ใน Glomerulus หลังจากนั้นจะไปเปลี่ยน Angiotensinogen ให้เป็น Angiotensin I และ Angiotensin II ตามลำดับ โดยที่ Angiotensin II จะกระตุ้นให้เกิดการหลั่ง Aldosterone ส่งผลเพิ่มการดึงน้ำกลับที่ไต และ Antidiuretic hormone ทำให้เกิดการคั่งของน้ำในภายร่างกาย และกระตุ้นการกระหายน้ำ
ผลด้านความน่ากิน
ผลด้านความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจ
การทำงานของไต
สรุปสาระสำคัญ
อาหารสัตว์เลี้ยงที่วางขายเค็มเกินไปหรือไม่
อาหารสัตว์เลี้ยงไม่ได้เค็มมากเกินไปสำหรับสัตว์เลี้ยง การระบุว่ามีเกลือเป็นส่วนผสมอาหาร ก็ไม่ได้หมายความว่าอาหารนั้นมีปริมาณเกลือที่มากเกินไป สำหรับอาหารสัตว์เลี้ยง วัตถุประสงค์หลักในการเติมเกลือ ไม่ได้ใช้เพื่อการปรุงรส แต่เป็นการเติมเกลือลงไปในอาหารสัตว์เลี้ยงเพื่อให้มีสารอาหารโซเดียมและคลอไรด์ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของสัตว์ที่บริโภคอาหารนั้น