คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันมนุษย์มีการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อเป็นเพื่อน (Companion animal) มากขึ้น โดยเฉพาะคนเมือง ไม่จำกัดอยู่แค่สุนัข และแมวเท่านั้น แต่ขยายวงออกไปในกลุ่มของสัตว์พิเศษ อาทิ กระต่าย เม่นแคระ หนูแฮมสเตอร์ เป็นต้น ทำให้เจ้าของและสัตว์เลี้ยงมีความใกล้ชิด และได้รับการดูแลดุจสมาชิกในครอบครัว เมื่อความสัมพันธ์และความใกล้ชิดระหว่างเจ้าของและสัตว์เลี้ยงมีมากขึ้น โรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน (Zoonosis) ก็มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ยกตย. โรคพิษสุนัขบ้า เราควรพาสุนัขและแมว รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไปทำวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายฝ่ายเกิดความตระหนักและห่วงใยในสุขภาพของทั้งคนและสัตว์เลี้ยง จึงทำให้เกิดการบูรณาการแก้ไขปัญหาสุขภาพแนวทางใหม่ที่รวมเอาแนวทางการปฏิบัติสุขภาพคน สุขภาพสัตว์ และสุขภาพสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปสู่สุขภาพที่ดีในองค์รวม และควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (One health) หรือสุขภาพหนึ่งเดียว เพื่อให้การอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมมีความสมดุลไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน (Companion animal) นั้นมีประโยชน์ทางสุขภาพต่อเจ้าของสัตว์ สังคม สิ่งแวดล้อม และประโยชน์ต่อตัวสัตว์เอง แบ่งออกเป็น 4 หัวใหญ่คือ
ไม่ว่าความสัมพันธ์ในรูปแบบใดก็มีทั้งบวกและลบ แต่ในบทความนี้เป็นการยกตัวอย่างด้านบวกของคนที่มีสัตว์เลี้ยง จะเห็นได้ว่ามีการมีสัตว์เลี้ยง ส่งผลด้านบวกด้านสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อร่างกายและจิตใจแข็งแรง ก็ทำให้เรามีอายุที่ยืนยาว การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนจึงเป็นแหล่งกระตุ้นพลังงานเชิงบวกให้กับคนเลี้ยง ให้กับครอบครัว ส่งผลไปยังวงกว้างอย่างสังคม แต่ทั้งนี้เมื่อเราเลี้ยงสัตว์แล้ว เราควรให้ความรักและเอาใจใส่ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ดูแลสัตว์เมื่อป่วย ไม่ทอดทิ้งให้เป็นภาระสังคมค่ะ
อ้างอิงจาก
Alan A. MONAVVARI, Zooeyia – The Health Benefits of Companion Animals and an Essential Contributor to One Health in the Community